วิธีการเลือกเมทัลชีท เลือกลอนให้เหมาะสมกับบ้าน
แผ่นเมทัลชีทนั้นมีหลายลอน ทั้งลอนสูง ลอนเล็ก ลอนรูปกระเบื้อง ลอนสำหรับผนังจึงสามารถเลือกรูปแบบลอนให้เข้ากับบ้านและการใช้งานได้โดยมีหลักในการเลือกใช้ก็คือ
- พื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะกับลอนเล็กและลอนเตี้ย เพื่อให้ดูสมส่วนกัน
- บ้านอยู่ในพื้นที่ฝนตกชุกและลมแรง แนะนำให้ใช้ลอนสูงเพื่อช่วยระบายน้ำได้ดี
- บ้านที่มีสไตล์เฉพาะตัว เลือกใช้ลอนกระเบื้องที่เข้ากับสไตล์นั้น มีหลายรูปแบบให้เลือก
ใช้ความหนาให้เหมาะกับการใช้งาน
แผ่นเมทัลชีทมีหลายความหนา มีผลกับความแข็งแรง และระยะความห่างของแป ดังนั้นก่อนตกลงติดตั้งหลังคา ควรเช็คสเปกหลังค่าก่อนว่ามีความหนาที่เหมาะสมและเช็คก่อนการติดตั้งว่าใช้เมทัลชีทตรงกับสเปกไว้หรือไม่
- งานหลังคาขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว ใช้ความหนา 0.23-0.28 มิลลิเมตร
- งานหลังคาและผนังขนาดเล็กที่มีระยะแปไม่เกิน 1.2 เมตร เช่น บ้านพักอาศัย ส่วนต่อเติมโรงจอดรถและกันสาดใช้ความหนา 0.30-0.35 มิลลิเมตร
- งานหลังคาขนาดกลางและงานผนังทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ใช้ความหนา 0.35-0.40 มิลลิเมตร
- งานหลังคาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระยะแปไม่เกิน 1.5 เมตร เช่น โรงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการการก่อสร้างคุณภาพสูง ใช้ความหนา 0.40 – 0.47 มิลลิเมตร
- งานหลังคาขนาดใหญ่ที่มีระยะแปถึง 2.5 เมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ ใช้ความหนา 0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป
เคลือบสีหรือไม่เคลือบสีดีกว่ากัน
เมทัลชีทที่ไม่เคลือบสีจะเป็นสีเงิน ๆ ซึ่งเป็นสีของสังกะสีอลูมิเนียม จะมีราคาถูกที่สุดและมีความทนทานต่อสนิมในระดับหนึ่ง ส่วนเมทัลชีทเคลือบสีที่มีคุณภาพ จะผ่านการเคลือบสังกะสี-อลูมิเนียม สารปรับผิว สีรองพื้นและสีเคลือบผิว ตามลำดับจึงสามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่า และมีอายุการใช้งานนานขึ้น
การติดตั้งมี 3 ระบบ
- ระบบยิงสกรู ระบบที่ใช้สกรูยิงยึดระหว่างแผ่นเมทัลชีทกับแปหรือโครงสร้างหลังคา สามารถใช้ได้กับทุกความหนา ติดตั้งง่ายใช้ได้กับแผ่นเมทัลชีททั่วไป จึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก
- ระบบไม่ใช้สกรู แผ่นเมทัลชีทที่ไม่ต้องติดตั้งด้วยสกรู คือ แผ่นเมทัลชีทลอนคลิปล็อค โดยใช้สกรูยึดอุปกรณ์ติดตั้งที่เรียกว่าคอนเน็กเตอร์ กับแป จากนั้นนำแผ่นเมทัลชีทยึดติดกับคอนเน็กเตอร์ โดยกดที่สันลอนให้ลงล็อก จึงลดการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี เพราะไม่มีการใช้สกรูในการเจาะยึดแผ่น
- ระบบไร้รอยต่อ โดยใช้แผ่นเมทัลชีทซึมเลส ติดตั้งด้วยการเจาะยึดสกรูกับคลิปที่ยึดตัวแผ่น แล้วนำแผ่นต่อไปมาซ้อนทับให้ล็อกกัน แผ่นซ้อนทับกันจึงปิดทับสกรูไปด้วย ส่วนที่ล็อกกันมีลักษณะเป็นครีบสูงตั้งตรงน้ำจึงไม่รั่ว และดูเหมือนไร้รอยต่อ
มีมาตรฐานอุตสาหกรรม
หากต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้ มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าทุกแผ่นผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ว่ามีความหนาตามที่ระบุไว้จริง อีกทั้งยังได้รับการทดสอบเรื่องการกระแทก ความแข็งแรงและการยึดเกาะอีกด้วย
เลือกเมทัลชีทแบรนด์ที่สถาปนิกหรือวิศวกรแนะนำ
ในปัจจุบันเมทัลชีทมีให้เลือกมากมายหลายแหล่งผลิต หลายเกรดวัสดุ แต่ละรุ่นมีกระบวนการผลิต มีการเคลือบสีที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์อันดับ 1 ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มสถาปนิกและวิศวกร เป็นแบรนด์ระดับโลกจากประเทศออสเตรเลีย ได้ก่อตั้งในประเทศไทยมากว่า 30 ปี อาจจะเป็นรายแรก ๆ ที่ได้นำวัสดุเมทัลชีทเข้ามาให้คนไทยได้ใช้งาน และเป็นรายแรกที่ได้รับมาตรฐาน มอก. เป็นเมทัลชีทที่มีคุณภาพดี พร้อมทั้งมีการรับประกันการใช้งาน วัสดุก่อสร้างล้วนมีข้อดีข้อด้อย แตกต่างกันออกไป การพิจารณาข้อดีของวัสดุก่อสร้าง พร้อมกับหาแนวทางแก้ไขข้อด้อย จะช่วยให้เกิดการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การเลือกฉนวนกันความร้อนเราต้องดูที่
ค่า R เป็นค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน ยิ่งต้านทานได้มากจะยิ่งดี นั่นหมายถึง ยิ่งตัวเลขมาก ยิ่งดีครับ
ค่า K ค่านำความร้อน ยิ่งนำความร้อนได้ ยิ่งส่งผลให้บ้านร้อนมาก เพราะฉะนั้นค่า K ควรมีน้อย ๆ ยิ่งตัวเลขน้อย ยิ่งดี